วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

1. การนิยามปัญหา (Problem Definition)
ในขั้นแรกของการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญที่สุด คือเราต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร ประเด็นหลักอยู่ที่ใด และต้องการให้ได้ผลลัพธ์อะไร

2. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem analysis)
หลังจากที่เข้าใจปัญหาได้ดีแล้ว ขั้นต่อไป คือ การวิเคราะห์ปัญหา และพัฒนาสูตรเชิงคณิตศาสตร์ที่แทนวิธีการแก้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ให้พิจารณาที่ผลลัพธ์ของปัญหาก่อน (output) ว่าคืออะไร และมีข้อมูลนำเข้า (input) อะไรบ้างที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์เช่นนั้น จากนั้นจึงคิดสูตรเป็นสมการ หรือวิธีการที่จะแก้ปัญหานั้น เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ข้อมูลอะไรที่นำเข้าจากผู้ใช้ ข้อมูลอะไรเกิดขึ้นจากการคำนวณ หรือข้อมูลใดเป็นค่าคงที่
ตัวอย่างเช่น โจทย์ต้องการให้เขียนโปรแกรมคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายให้พนักงานรายวัน แต่ละคน โดยมีค่าแรงเป็น 40 บาทต่อชั่วโมง ถ้าทำงานเกินจะมีค่าล่วงเวลาคิดเป็นอัตรา 7 บาทต่อชั่วโมง
จากโจทย์ ผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ จำนวนที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน ข้อมูลนำเข้า คือ จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน จากนั้นนำมาเขียนเป็นสูตร เชิงคณิตศาสตร์ดังนี้

ค่าแรงของพนักงาน = จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน *40 "ถ้าจำนวนชั่วโมงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8"
ค่าล่วงเวลา = (จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน -8)*7 "ถ้าจำนวนชั่วโมงมากกว่า 8 ชั่วโมง"
รวมจำนวนเงินค่าแรงของพนักงานแต่ละคน = ค่าแรงของพนักงาน + ค่าล่วงเวลา

3. การออกแบบอัลกอริธึม (Algorithm design) หรือการออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา
ในขั้นนี้เป็นการคิดหาขั้นตอนการแก้ปัญหาทีละขั้น เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาได้ และสามารถนำมาแปลงเป็นคำสั่งของภาษาโปรแกรมได้โดยง่าย ซึ่งเรียกขั้นตอนการแก้ปัญหาทีละขั้นนี้ว่าอัลกอริธึม (algorithm)
ตัวอย่างจากโจทย์การคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายให้แก่พนักงาน เขียนอธิบายแต่ละขั้นไดดังนี้
ขั้นที่ 1 รับข้อมูลชั่วโมงทำงานของพนักงานจากแป้นพิมพ์
ขั้นที่ 2 เปรียบเทียบจำนวนชั่วโมงทำงานกับ 8
ถ้าจำนวนชั่วโมงทำงาน มากกว่า 8 แล้ว ให้คำนวณตามสูตรต่อไปนี้
ค่าแรงของพนักงาน = 8*40
ค่าล่วงเวลา = (จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน – 8 ) *7
ถ้าจำนวนชั่วโมงทำงาน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 แล้วให้คำนวณ
ค่าแรงของพนักงาน = จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน * 40
ค่าล่วงเวลา = 0
ขั้นที่ 3 คำนวณจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน
รวมจำนวนเงินค่าแรงของพนักงานแต่ละคน = ค่าแรงของพนักงาน + ค่าล่วงเวลา
ขั้นที่ 4 แสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ทราบ
ขั้นที่ 5 จบการทำงาน

แต่ละขั้นตอนต้องมีความชัดเจนว่าจะทำอะไร แล้วได้ผลลัพธ์อะไรในแต่ละขั้น

4. การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
ในขั้นตอนนี้นักเขียนโปรแกรมต้องนำเอาคำอธิบายของขั้นตอนการแก้ปัญหาแต่ละขั้นจากอัลกอริธึมมาแปลงเป็นคำสั่งของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น เขียนด้วยภาษา c++ เป็นต้น การพัฒนาโปรแกรมจะทำได้ง่าย ถ้าอัลกอริธึมถูกต้อง และมีความชัดเจน

5. การทดสอบความถูกต้อง (Program Testing)
หลังจากที่เราเขียนคำสั่งของภาษาโปแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ขั้นต่อไป คือ การทดสอบ (Testing) เพื่อหาข้อผิดพลาดจากการเขียนคำสั่งผิดไวยกรณ์ของภาษา หรือข้อผิดพลาดจากการคำนวณการทดสอบควรทดสอบทุกกรณีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การคิดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงานเราต้องทดสอบด้วยการป้อนจำนวนชั่วโมงทำงานประมาร 3 ค่า คือ ค่าที่มากกว่า 8 หรือค่าที่น้อยกว่า 8 หรือค่าที่เท่ากับ 8 เพื่อทดสอบว่าถูกต้องทุกกรณีตามสูตรที่ออกแบบไว้หรือไม่

6. การจัดทำเอกสาร (Documentation)
การจัดทำเอกสารถือว่าเป็นงานที่สำคัญที่นักเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่ละเลย การจัดทำเอกสารมีได้สองแบบ คือจัดทำเอกสารคู่มือผู้ใช้ และเอกสารคู่มือพัฒนา ซึ่งเอกสารแบบหลังนี้มีความสำคัญต่อองค์กร เพราะช่วยให้การบำรุงรักษาโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น และใช้อ้างอิงในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในระบบ การเขียนหมายเหตุในโปรแกรมถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะทำ เพื่ออธิบายความคิดว่าขณะนั้นได้คิดอะไร การเขียนหมายเหตุเป็นสิ่งที่ช่วยเตือนความทรงจำของตัวผู้เขียนเอง และคนอื่น

7. การบำรุงรักษา และการแก้ไข (Maintenance and modification)
การพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใหม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายการการบำรุงรักษา และการแก้ไข ต้นทุนการบำรุงรักษาโปรแกรมจะเพิ่มมากขึ้นหากการออกแบบโปรแกรมทำ

การใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหา

การใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหา

1.หลักการแก้ปัญหา
          ในชีวิตประจำวันทุกคนต้องเคยพบกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการเรียน การงาน การเงิน หรือแม้แต่การเล่นเกม เมื่อพบกับปัญหา แต่ละคนมีวิธีที่จะจัดการหรือแก้ปัญหาเหล่านั้นแตกต่างกันไป  ซึ่งแต่ละวิธีการอาจให้ผลลัพธ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันเล็กน้อย  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้  ความสามารถ และประสบการณ์ของบุคคลผู้นั้น  อย่างไรก็ตาม หากเรานำวิธีการแก้ปัญหาต่างวิธีนั้นมาวิเคราะห์ให้ดี จะพบว่าสามารถสรุปวิธีการเหล่านั้นเป็นทฤษฎีซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนได้  และบางครั้งต้องอาศัยการเรียนรู้ในระดับสูงเพื่อแก้ปัญหาบางอย่างให้สมบูรณ์แบบ  แต่ก่อนที่เราจะศึกษาต่อไป  ลองพิจารณาปัญหาต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1   เกมทายใจ 
คือเกมให้ผู้เล่นทายตัวเลข ตัว  ในการเล่นเกมต้องใช้ผู้เล่น คน  คนที่หนึ่งคือ ผู้กำหนด เป็นคนกำหนดเลข ตัวที่ไม่ซ้ำกัน โดยเลือกจากกลุ่มตัวเลข 1-9  และอีกคนหนึ่งคือผู้ทาย  เป็นผู้ทายตัวเลขตัวที่ไม่ซ้ำกันที่ผู้กำหนดได้กำหนดไว้แล้ว  หลังจากที่ผู้ทายทายเลขแต่ละครั้ง  ผู้กำหนดต้องให้รายละเอียดว่าตัวเลขที่ทายมานั้นถูกต้องกี่ตัว  และในกรณีที่ตัวเลขที่ทายมาถูกตำแหน่งด้วยก็ต้องบอกว่าถูกตำแหน่งกี่ตัว  เช่น  ถ้าตัวเลขที่กำหนดไว้เป็น 815 และผู้ทายทายว่า 123 ผู้กำหนดต้องแจ้งว่าตัวเลขที่ทายนั้นถูก ตัว และไม่มีตัวใดถูกตำแหน่ง  ตารางที่ เป็นตารางแสดงข้อมูลการเล่นเกม

ตารางที่ 1 ข้อมูลการเล่นเกมทายใจ
เลขที่ทาย
จำนวนตัวเลขที่ถูก
จำนวนตำแหน่งที่ถูก
123
415
425
416
715
815
1
2
1
1
2
3
-
2
1
1
2
3

จะเห็นว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น  นอกจากจะใช้วิธีลองผิดลองถูกในการทายครั้งแรกๆ แล้วยังมีการใช้เหตุผลประกอบการแก้ปัญหาซึ่งเราเรียกวิธีการดังกล่าวว่า วิธีขจัด (method of elimination) คือ จะแยกข้อมูลออกเป็นกรณีที่เป็นไปไม่ได้ทิ้ง จนเหลือกรณีที่เป็นไปได้ รูปแบบของการใช้เหตุผลประกอบการแก้ปัญหาอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ในบางปัญหาอาจจะขจัดให้เหลือกรณีเดียวไม่ได้ แต่อาจจะทำให้เหลือกรณีน้อยที่สุด
          นอกจากวิธีการแก้ปัญหาที่ยกตัวอย่างมาซึ่งได้แก่  วิธีการลองผิดลองถูก  การใช้เหตุผล  การใช้วิธีขจัด  ยังมีวิธีการแก้ปัญหาอีกมากมายที่ผู้แก้ปัญหาสามารถเลือกใช้ให้เข้ากับตัวปัญหาและประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเอง  แต่อย่างไรก็ตาม  วิธีการเหล่านั้นล้วนมีขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน  และจากการศึกษาพฤติกรรมในการเรียนรู้และแก้ปัญหาของมนุษย์พบว่า โดยปกติมนุษย์มีกระบวนการในการแก้ปัญหา  ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้

j การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
          การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State the problem) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา แต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามความสำคัญของขั้นตอนนี้อยู่เสมอ จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร และสิ่งที่ต้องการคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล ในการวิเคราะห์ปัญหาใด กล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ ดังนี้
1.1  การระบุข้อมูลเข้า  ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา
1.2  การระบุข้อมูลออก  ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
1.3  การกำหนดวิธีประมวลผล  ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีหาคำตอบหรือข้อมูลออก
ตัวอย่างที่ 2 แสดงการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของการหาค่าเฉลี่ยของจำนวนเต็ม จำนวน ได้แก่ 0 3 4 8 และ 12
          จากองค์ประกอบในการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
(1)   การระบุข้อมูลเข้า
ในที่นี้โจทย์กำหนดให้หาค่าเฉลี่ยของจำนวนเต็ม จำนวน ดังนั้น ข้อมูลเข้าได้แก่ จำนวน 0 3 4 8 และ 12
(2)   การระบุข้อมูลออก
จากโจทย์สิ่งที่เป็นคำตอบของปัญหาคือ ค่าเฉลี่ย (X) ของจำนวนทั้งห้า
(3)   การกำหนดวิธีประมวลผล
จากสิ่งที่โจทย์ต้องการ ค่าเฉลี่ย หมายถึง ผลรวมของจำนวนทั้ง หารด้วย ดังนั้น ขั้นตอนของการประมวลผลประกอบด้วย
3.1) รับค่าจำนวนทั้ง จำนวน
3.2) นำจำนวนเต็มทั้ง มาบวกเข้าด้วยกัน
3.3) นำผลลัพธ์จากข้อ 3.2) มาหารด้วย 5
ตัวอย่างที่ 3 แสดงการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของการหาค่า เมื่อ คือจำนวนเต็มจำนวนหนึ่งในกลุ่มจำนวนเต็ม จำนวน ที่มีค่าเฉลี่ยเป็น 10 และจำนวนอีก จำนวนได้แก่ 3 4 8 และ 12
          จากองค์ประกอบในการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
(1)   การระบุข้อมูลเข้า
จากโจทย์ข้อมูลเข้า ได้แก่
1.1)  จำนวนอีก จำนวน คือ 3 4 8 12
1.2)  ค่าเฉลี่ยของจำนวนทั้ง จำนวน คือ 10
(2)   การระบุข้อมูลออก
จากโจทย์สิ่งที่เป็นผลลัพธ์ คือ ค่า X
(3)   การกำหนดวิธีประมวลผล
จากโจทย์และความหมายของ ค่าเฉลี่ย เราสามารถสรุปขั้นตอนของการประมวลผลได้ดังนี้
3.1)  หาค่าผลรวมของจำนวนเต็มทั้ง โดยนำค่าเฉลี่ยคูณด้วยจำนวนของเลขจำนวนเต็ม นั่นคือ 10 x 5 = 50
3.2)  จากความหมายของ ผลรวม จะได้ 3+4+8+12+X = 50
3.3)  แก้สมการ 27+X = 50 (จะได้ X = 23 ซึ่งคือผลลัพธ์)

k การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
              การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools and Algorithm development) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ แล้ว เราสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก หากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาทำนองนี้มาแล้วก็สามารถดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมา
              ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว และสิ่งที่สำคัญคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหา
              อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหา คือยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือที่เราเรียกว่า ขั้นตอนวิธี (algorithm) ในการแก้ปัญหา  หลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้ว ผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและดีที่สุด การออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา ผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใน เช่น ผังงาน (flowchart) ที่จำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของสัญลักษณ์  รหัสลำลอง (pseudo code) ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของคำบรรยาย การใช้เครื่องมือช่วยออกแบบดังกล่าวนอกจากแสดงกระบวนการที่ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้ผู้แก้ปัญหาสามารถหาข้อผิดพลาดของวิธีการที่ใช้ได้ง่ายและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

l การดำเนินการแก้ปัญหา
              การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยง่าน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะที่ดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

m การตรวจสอบและปรับปรุง
              การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมุเข้าได้ในทุกกรณีอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
              ขั้นตอนทั้ง ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เป็นเสมือนขั้นบันได (stair) ที่ทำให้มนุษย์สามารถประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ รวมทั้งการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาก็ต้องใช้กระบวนการตามขั้นตอนทั้ง นี้เช่นกัน

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

             กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process). คือ  ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว.
ความสำคัญของกระบวนการทางเทคโนโลยี.
1. เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์.
2. เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา.
3. เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ. 

กระบวนการเทคโลยีสารสนเทศมี6ขั้นตอน

1.การรวบรวมข้อมูล
        วิธีการดำเนินการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวลผล เช่น บันทึกในแฟ้ม   เอกสาร  บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ จดบันทึกไว้ในสมุด  เป็นต้น
2.การตรวจสอบข้อมูล
        ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การตรวจสอบ เพื่อหาข้อผิดพลาด  ความน่าเชื่อถือ  ความสมเหตุสมผล  เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมและบันทึกไว้อย่างถูกต้อง
3.การประมวลผลข้อมูล
        หมายถึง วิธีการดำเนินการกระทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ   ข้อมูล การประมวลผลสารสนเทศข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  รูปภาพ  เสียง  ที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นความจริง  สำหรับใช้เป็นหลักอนุมาน              
         สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ เช่น     ปริมาณการขายสินค้าแต่ละตัว จำแนกตามเขตการขาย    
  • การนำข้อมูลไปประมวลผลมีด้วยกันหลายวิธี แต่มีวิธีง่ายๆ      สำหรับนักเรียนที่จะใช้ศึกษาในเบื้องต้น 4  วิธีคือ
         1. การจัดเรียง คือ การนำข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลมาจัดเรียงลำดับตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น จัดเรียง  ข้อมูลชื่อตามตัวอักษร จัดเรียงข้อมูลคะแนนจากมากไปหาน้อย เป็นต้น
        2. การหาค่าเฉลี่ย คือ การนำเอาข้อมูลมาเฉลี่ย เช่น การนำเอาคะแนนสอบรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศมาหาค่าเฉลี่ยเป็นต้น 
       3. การเปรียบเทียบ คือ การนำเอาข้อมูลประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบเพื่อหาค่าแตกต่างหรือความเหมือนกัน 
       4. การหาแนวโน้ม คือ การนำเอาข้อมูลประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบตามระยะเวลา เช่นนำคะแนนของนักเรียนคนหนึ่งมาเปรียบเทียบกับคะแนนของตนเองในช่วงการสอบย่อยในช่วงของการสอบย่อยต่าง ๆ
      4.การจัดเก็บข้อมูล
              การเก็บรักษาข้อมูลเพื่อการบริหาร โดยเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ
     5.การคิดวิเคราะห์
              ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อสรุปความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศให้ตรงสภาพที่เป็นจริงตรงตามวัตถุประสงค์ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้
     6.การนำข้อมูลไปใช้  
               การนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะต่างๆ
  • มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับการใช้อินเตอร์เน็ต

    มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับการใช้อินเตอร์เน็ต

    1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่นเช่นไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพอนาจาร เป็นต้น
    2.ต้องไมใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
    3.ต้องไมสอดแนม แก้ไขหรือเปิดดูแฟ้มงานของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
    4.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
    5.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างหลักฐานเท็จ
    6.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรมแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
    7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
    8.ต้องไม่เอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
    9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง
    10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์เคารพกฎ กติกา ระเบียบ  กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

    คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

    คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

    ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
    1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
    2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
    3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
    4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
    5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
    6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
    7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
    8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
    9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
    10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
    การ ทำงานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอิน เทอร์เน็ต น่าใช้และเป็นประโยชน์ กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง ในการส่งกระจายข่าวลือไปเป็นจำนวนมาบนเครือข่าย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ เป็นต้น ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท หรือ จรรยาบรรณของการรวบรวมเว็บไซด์ต่าง ๆ เอาไว้ เราเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการแล้วเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่อไปนี้คือ
    · การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
    · การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
    · การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)
    บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้
    · ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
    · ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
    · ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
    ·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
    บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้
    · ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
    · ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
    · ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
    · ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น
     จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
    1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
    2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
    3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
    4. คิดก่อนเขียน
    5. อย่าใช้อารมณ์
    6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
    7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
    8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
    9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
    10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
    11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
    12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
    13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง

    การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

    การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

    1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator

    จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ
    อีเมลแอดเดรส (E-mail address)
    องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
    1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
    2. ชื่อโดเมน
    Username@domain_name
    การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
    1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
    2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail

    3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
    1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
    2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น
    FTP Commander

    บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น

    บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
    1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
    2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
    3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่นwww.search.com, www.thaifind.com

    บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board)เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)

    7. ห้องสนทนา (Chat Room)ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนา

    การทำงานของอินเทอร์เน็ต

    การทำงานของอินเทอร์เน็ต

    การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
         เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น ส่วน ส่วนละ 8บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ จนถึง 255เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
    โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
    เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข

    โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
    .com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
    .edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
    .int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
    .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
    .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร